เมนู

บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย การทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ อย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล 4 จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบสังโยชนสูตรที่ 8

อรรถกถาสังโยชนสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสังโยชนสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
พระโสดาบัน เรียกว่า สมณะผู้ไม่หวั่นไหว เพราะท่านได้ศรัทธา
ตั้งมั่นแล้วในพระศาสนา. พระสกทาคามี เรียกว่า สมณะดังบัวขาว ดุจบัวขาว
เกิดในสระมีใบไม่มาก เพราะท่านเป็นผู้มีคุณยังไม่มากนัก. พระอนาคามี
เรียกว่า สมณะดังบัวหลวง ดุจบัวหลวงมีร้อยใบเกิดในสระ เพราะท่านมีคุณ
มากกว่านั้น. พระขีณาสพผู้ถึงความอ่อนโยน เรียกว่า สมณะสุขุมาล เพราะ
กิเลสที่ทำความกระด้างท่านถอนได้แล้วโดยประการทั้งปวง.
จบอรรถกถาสังโยชนสูตรที่ 8

9. ทิฏฐิสูตร


ว่าด้วยสมณะ 4 จำพวก


[89] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้ ฯลฯ คือ
สมณมจโล สมณะผู้ไม่หวั่นไหว

สมณปุณฺฑรีโก สมณะบุณฑริก
สมณปทุโม สมณะปทุม
สมเณสุ สมณสุขุมาโล สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ
ก็บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัย
นี้เป็นผู้มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ มีวาจาชอบ มีการงานชอบ มี
อาชีพชอบ มีความพยายามชอบ มีสติชอบ มีสมาธิชอบ อย่างนี้แล บุคคล
เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกเป็นอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีสมาธิชอบ มีญาณชอบ มีวิมุตติชอบ แต่ไม่
ได้ถูกต้องวิโมกข์ 8 ด้วย (นาม) กาย อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก
บุคคลเป็นสมณะปทุมเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มี
ความเห็นชอบ ฯลฯ มีวิมุตติชอบ ทั้งได้ถูกต้องวิโมกข์ 8 ด้วย (นาม) กายด้วย
อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะปทุม
บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระ-
ธรรมวินัยนี้ บริโภคจีวร โดยมากมีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) ที่บริโภคโดย
ไม่มีผุ้วิงวอน (ให้บริโภค) มีน้อย ฯลฯ อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะ
สุขุมาลในหมู่สมณะ

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล 4 จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก.
จบทิฏฐิสูตรที่ 9


อรรถกถาทิฏฐิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทิฏฐิสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
ด้วยบทเป็นต้นว่า สมฺมาทิฏฺฐิโก ทรงหมายถึงพระเสขะ 7 จำพวก
เหมือนในสูตรแรก ด้วยอำนาจมรรคมีองค์ 8. วาระที่สอง ตรัสพระ-
ขีณาสพสุกขวิปัสสกผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน พร้อมด้วยอรหัตผลญาณ และ
อรหัตผลวิมุตติ ด้วยอำนาจแห่งมรรคมีองค์ 10 หรือด้วยอำนาจแห่งมรรค
มีองค์ 8. ในวาระที่สาม ตรัสพระขีณาสพผู้เป็นอุภโตภาควิมุต. วาระที่สี่
ตรัสถึงพระตถาคต และพระขีณาสพเช่นกับพระตถาคตอย่างนี้. ดังนั้น
พระสูตรนี้ ตรัสด้วยอำนาจบุคคลที่กล่าวในสูตรแรก แต่ในพระสูตรนี้ต่างกัน
เพียงเทศนาเท่านั้น.
อรรถกถาทิฏฐิสูตรที่ 9

10. ขันธสูตร


ว่าด้วยสมณะ 4 จำพวก


[90] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้ ฯลฯ คือ
สมณมจโล สมณะผู้ไม่หวั่นไหว
สมณปุณฺฑรีโก สมณะบุณฑริก
สมณปทุโม สมณะปทุม
สมเณสุ สมณสุขุมาโล สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ